วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ ภาค อุตสาหกรรม


หน้าแรก ธุรกิจ บทความ Down Load เชื่อมโยง Glossary สมุดเยี่ยม 
ปี 2006 p1 ปี 2005 p2 ปี 2005 p1 ปี 2004 p2 ปี 2004 p1 ปี 2003 p1 ปี 2002
เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3867 (3067)
เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานดินเนอร์ ทอล์ก เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ว่าปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ดีต่อไป แม้ว่าจะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่อาจจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนต่างๆ อันอาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมของไทยได้ ดังนั้น การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม จะทำให้เราสามารถก้าวล่วงอุปสรรคเหล่านั้นไปได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเน้นย้ำให้มีการดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เป็นเสมือน เกราะกำบังที่มีประสิทธิภาพในการรองรับสถานการณ์ของโลกและของประเทศ ที่เปลี่ยนแปลง และปรวนแปรได้ทุกสภาวะโอกาส ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยต้องรักษาความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี
มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมที่ต้องพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรยึดหลักในการบริหารจัดการ 7 ประการ 1) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ราคาไม่แพง แต่ถูกหลักวิชาการ 2) มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการของตน 3) ไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป และเน้นกำไรหรือผลตอบแทนในระยะยาวเป็นหลัก 4) ยึดความซื่อสัตย์ สุจริต ในการประกอบการเป็นที่ตั้ง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค แรงงาน หรือลูกค้า รวมทั้งผู้ที่จำหน่ายวัตถุดิบ 5) เน้นนโยบายกระจายความเสี่ยง จากการจัดให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และ/หรือสร้างสมความสามารถในการปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ง่ายๆ 6) เน้นนโยบายในการบริหารความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินความสามารถในการบริหารจัดการของตน 7) เน้นนโยบายการตอบสนองตลาดภายในท้องถิ่น ภูมิภาค ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศตามลำดับเป็นหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่มุ่งประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ยังมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ ทำให้กิจการต่างๆ นั้นสามารถเจริญเติบโตไปได้อย่างดี และไม่มีสิ่งที่ขัดแย้งต่อระบบความคิด หรือหลักการทำธุรกิจ ในระบบเสรีนิยม นอกจากนี้เศรษฐกิจพอเพียงเน้นผลประโยชน์ตอบแทนต่อสังคมในระยะยาว ไม่เอารัดเอาเปรียบ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งจะก่อให้เกิดสันติสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมนั้น ควรพิจารณาข้อสังเกตดังนี้ กรณีอุตสาหกรรมที่ผลิต และเน้นตลาดภายในประเทศเป็นหลัก ควรมุ่งการปรับปรุงวิธีให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และให้มีการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเน้นความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังต่างประเทศสูง นอกจากนี้ อุตสาหกรรมควรสนับสนุนให้กิจการของตน เน้นการบริหารความเสี่ยงในระดับต่ำ มีความระมัดระวังในการใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นพลังสำคัญให้ประเทศไทย เผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจผันผวนของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มายึดเป็นหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรม จะส่งผลให้นักอุตสาหกรรมไม่ตั้ง อยู่บนความประมาท มีความพอประมาณ และมีเหตุผล นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยองค์การสหประชาชาติได้เตรียมเผยแพร่ให้แก่ประเทศสมาชิก
ด้านนายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒนพิบูล กล่าวใน การสัมมนาเรื่อง "มองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2550" ว่า จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่ดีมากนัก ขณะนี้เรียกว่าเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์วางระเบิดในช่วงปลายปี ส่งผลถึงปัจจุบัน ทำให้การค้าขายซบเซา คนไม่ออกจากบ้านมาจับจ่าย โดยเฉพาะในศูนย์การค้าต่างๆ ประกอบกับมีปัจจัยลบมากมายที่เกิดขึ้น อาทิ ค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น ส่งผลต่อบริษัทส่งออกในเครือของสหพัฒน์ มียอดขายที่ลดลง เรียกว่าถึงขั้นเกือบถอดใจ
ขณะนี้ยังมองสถานการณ์ไม่ออกว่าสภาพทั้งปีนี้จะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าจะหนักกว่าทุกปีเท่าที่ดำเนินธุรกิจมา เนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกใดๆ สิ่งที่ทำได้คือการอยู่นิ่งๆ (zero marketing) เพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป ขณะนี้ยังไม่มีการขยับหรือลงทุนใดๆ ณ ตอนนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้จึงเป็นสภาพของสุญญากาศ ทำให้บริษัทเสียโอกาส
"สำหรับปีนี้ผมมองว่าอย่าตั้งเป้าหมายให้สูงเกินไป เอาความนิ่งแก้ปัญหา ทำให้ดีที่สุด นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ด้วยการเน้นรัดเข็มขัดตัวเอง จริงๆ แล้วปีนี้ผมเองก็ไม่ได้ตั้งเป้าหมายภาพรวมทั้งเครือว่าจะต้องเติบโตเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้กดดันตัวเอง แต่เชื่อว่าจะไม่ต่ำกว่าปีก่อน สำหรับไตรมาส 1 นี้ สิ่งที่ทำได้คือ west and see เนื่องจากสิ่งต่างๆ ยังไม่ชัดเจน กำลังซื้อผู้บริโภคไม่เพิ่มมีแต่ลดลง แต่หลังจากไตรมาสที่ 1 สิ่งต่างๆ อาจจะดีขึ้นก็ได้"
พร้อมกันนี้ นายบุณยสิทธิ์ยังกล่าวถึงยอดขายของสินค้าหลักในเครืออย่างมาม่าว่า ขณะนี้ยอดตกลงอยู่ตลอดเวลา และค่าดว่าตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ในสถานการณ์ไม่ดีมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากวัตถุดิบที่นำเข้าจากออสเตรเลีย มีการปรับตัวสูงขึ้น จากผลกระทบจากคลื่นความร้อนที่พัดผ่านออสเตรเลีย
ปีที่ผ่านมาทั้งเครือสหพัฒน์มีการเติบโตกว่า 10% คิดเป็นยอดขายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท สำหรับปีนี้จากสภาพที่เกิดขึ้นหากทั้งเครือสามารถเติบโตได้เท่ากับที่ผ่านมาถือว่าเก่งมาแล้ว
ให้จับตาราคาน้ำมันต่อ
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่อัตราการเติบโต (GDP) ก็ยังเพิ่มขึ้น 5% ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยก็ยังดี มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะด้านเรียลเซ็ก เตอร์น้ำมัน การลงทุนเป็นปัจจัยหลัก ในปีนี้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5 โดยภาคการส่งออกยังเป็นภาคที่แข็งแกร่งต่อไป
อย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการคือการเบิกจ่ายงบประมาณที่ตั้งไว้ 1.55 ล้านล้านบาท เพื่อให้เกิดการลงทุนในโครงการต่างๆ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งก็จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจของ ประเทศมีการเติบโตมากขึ้น
"ในปีนี้สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงคือเรื่องของน้ำมันที่ราคายังทรงตัวระดับสูง แม้จะลดลงบ้างแล้วก็ตาม ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปตลอด ในขณะที่ดอกเบี้ยเป็นต้นทุนที่จะไม่สูงมากนัก บริษัทต่างๆ มีหนี้ น้อยลง การลงทุนและการส่งออกของไทยขยายตัว แต่ภาครัฐน่าจะมี การพัฒนาด้านลอจิสติกเพื่อการส่งออกด้วย" นายกานต์กล่าว
สำหรับปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น สาเหตุมาจากเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยปีที่ผ่านมา ก็ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมาแล้ว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มนั้น ค่าเงินเหรียญสหรัฐจะอ่อนค่าลงอีก ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัว คาดการณ์ภาวะเงินบาทให้ดี มีการประกันความเสี่ยงไว้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะประสบปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนได้
ดอกเบี้ยสูง เงินดอลลาร์ยังไหลเข้า
นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปี 2550 คาดว่าเศรษกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 4-4.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจ แต่ห่วงว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง แต่ข่าวดีคือเศรษฐกิจจีนเติบโตตัวเลข 2 หลัก ซึ่งจะช่วยภาคการส่งออกของไทยได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นเศรษฐกิจไทยปีนี้หากไม่มีอุบัติเหตุเชื่อว่าจะมีอัตราการขยายตัวในระดับเท่าๆ กับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่รัฐบาลจะต้องกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องรักษาระดับการผลิตปัจจุบันของตนเองให้ได้
ในส่วนการลงทุนปีที่ผ่านมาอาจจะไม่ดี ดังนั้นในปีนี้ โครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ของรัฐจึงน่าจะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญในเรื่องของการลงทุน ผลักดันการบริโภคได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวโครงสร้างเศรษฐกิจจะเป็นโจทย์ยาก เพราะปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศมาตรการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท, พ.ร.บ.ต่างด้าว ทำนายได้ยาก เพราะมีปัจจัยแปรเปลี่ยนหลายตัว
อย่างไรก็ตามในช่วงนี้เอกชนหลายรายยังไปได้ดี เพราะงบดุลของบริษัทใหญ่ก็ยังเข้ารูปเข้ารอยอยู่ แต่ที่เป็นห่วงคือ เอกชนขนาดกลาง เพราะมีทรัพยากรน้อย การแข่งขันอาจจะทำได้ยาก ซึ่งปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ที่จะต้องดูอีกประการคือ "การแข่งขัน" ซึ่งในอนาคตมันเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ที่มีแนวโน้มการควบรวมกิจการมากขึ้น และมีการขยายธุรกิจมากขึ้น
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามียอดควบรวมถึง 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ และน่ากลัวที่ยังมีแนวโน้มต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการยังไม่ตระหนักในเรื่องนี้ ระยะยาวผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขัน ในอนาคตผู้ประกอบการไทยจะต้องเป็นเพียงผู้รับจ้างทำของ ต้องพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าของตนเองให้ได้
"ในเรื่องของการแข่งขัน เวียดนามถือว่าน่ากลัวสำหรับเรามาก เขาให้ความสำคัญกับคนมาก มองว่าความแตกต่าง ไม่ใช่ทรัพยากร เป็นเรื่องของสมองและทักษะ ต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ทำอย่างไรถึงได้ทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ในการเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรม การทำวิจัยและพัฒนาก็เป็นตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่จะทำให้การผลิตสินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น เศรษฐกิจมีขึ้นมีลง แต่เราจะใช้ช่วงขาลงอย่างไรในการสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง" นายวิชิตกล่าว
สำหรับประเด็นด้านค่าเงินบาทนั้น จากการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญคือเงินเหรียญสหรัฐที่เดิมทั่วโลกมีการถือมาก แต่ขณะนี้เริ่มจะเปลี่ยนการถือเงินดอลลาร์มาเป็นเงินสกุลอื่นมากขึ้น เงินบาทก็เป็นตัวหนึ่งที่มีความต้องการถือมาก ดังนั้นค่าของเงินบาทจึงมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้น
และตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยของไทยยังสูงกว่าต่างประเทศ เงินดอลลาร์ก็จะไม่หยุดไหลเข้ามาแสวงหากำไร การลดดอกเบี้ยก็น่าจะทำ ฉะนั้นการที่จะเห็นเงินบาทอ่อนค่าลงต้องมีมาตรการอีกมาก แต่การปล่อยให้เป็นไป ตามกลไกตลาดดีที่สุด หรือไม่ก็หันมาใช้เงินดอลลาร์ที่มีอยู่นำไปลงทุน เช่นเดียวกับที่ประเทศจีนและดูไบทำอยู่ในปัจจุบันข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น